วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แม่คือพระผู้สร้างให้กำเนิด
ผู้ประเสริฐก่อเกิดลูกปลูกความฝัน
ถักทอรักฟูมฟักเนิ่นนานวัน
จนลูกนั้นเติบใหญ่จนได้ดี
เป็นดั่งเทียนยอมเผาตนจนมอดไหม้
ยังแสงให้ลูกเห็นทางไม่ห่างหนี
แสงอาทิตย์ส่องทางเดินเนิ่นนานปี
มารดานี้ส่องสว่างทางชีวัน
แม่จึงเป็นผู้สร้างทางชีวิต
คอยลิขิตแต่งแต้มหลากสีสัน
จากผ้าขาวผืนขาดเมื่อวานวัน

กลับเปรผันเป็นผ้างามยามเติบโต


วันแม่แห่งชาติ


  วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ Mother Day ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ ทุกคนควรรำลึกถึงพระคุณของแม่

          ประวัติวันแม่แห่งชาติ มีความเป็นมาอย่างไร สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ทำไมจึงใช้ดอกมะลิ และคำขวัญวันเเม่ปีต่าง ๆ มีข้อความว่าอะไร กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่มีอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ   


ประวัติวันแม่แห่งชาติ

          ประวัติวันแม่แห่งชาติ 
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ

          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 

          
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่ 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของอาเซียน(ASEAN)

ประวัติความเป็นมาของ ASEAN

อาเซียน(ASEAN) ย่อมาจาก Association of SouthEast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรระดับภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นโดย 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยร่วมกันจัดทำปฏิญญาอาเซียน ชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ลงนามที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมี 10 ประเทศ มีเป้าหมายว่าจะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 : ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ร่วมก่อตั้งอาเซียน
7 มกราคม พ.ศ 2527 : บรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิก
28 กรกฎาคม พ.ศ 2538 : เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก
23 กรกฎาคม พ.ศ 2540 : ลาวและเมียนมาร์(พม่า) เข้าร่วมเป็นสมาชิก
9 เมษายน พ.ศ 2542 : กัมพูชา เข้าร่วมเป็นสมาชิก

รู้จักกับ อาเซียน+3 และ อาเซียน+6

อาเซียน+3 และ อาเซียน+6 : ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
โดย +3 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
และ +6 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย
กรอบปฏิบัติอาเซียน เรียกว่า กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นเอกสารมีรายละเอียดระบุโครงสร้างองค์กรและหลักปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งเรื่องการสร้างประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกมีความอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความพร้อมในทุกด้าน มีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้นำอาเซียนตกลงกันว่าจะสร้างประชาคมให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย
  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC : ASEAN Political and Security Community)
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : ASEAN Economic Community)
  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC : ASEAN Socio-Cultural Community)





ดวงตราอาเซียน เป็น สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความเป็นอาเซียน โดยมีลักษณะเป็นรูปรวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ บนพื้นหลังสีแดงอยู่ในวงกลมเส้นสีขาวและเส้นสีน้ำเงินซึ่งหมายถึง ประเทศสมาชิกรวมตัวกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน พื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดง ถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสีที่ใช้ก็ให้ความหมายในลักษณะดังกล่าว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่ง ประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ
  • การเมืองความมั่นคง
  • เศรษฐกิจ (AEC)
  • สังคมและวัฒนธรรม