วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุด
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชกาลของพระองค์ เกิดรัฐประหารโดยกองทัพ 13 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 29 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญาคณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์ กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย]ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ดูหมายเหตุด้านล่าง) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ
นับแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระอาการพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตลอดมา แต่พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริพระชนมายุ 88 ปี 313 วัน

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แม่คือพระผู้สร้างให้กำเนิด
ผู้ประเสริฐก่อเกิดลูกปลูกความฝัน
ถักทอรักฟูมฟักเนิ่นนานวัน
จนลูกนั้นเติบใหญ่จนได้ดี
เป็นดั่งเทียนยอมเผาตนจนมอดไหม้
ยังแสงให้ลูกเห็นทางไม่ห่างหนี
แสงอาทิตย์ส่องทางเดินเนิ่นนานปี
มารดานี้ส่องสว่างทางชีวัน
แม่จึงเป็นผู้สร้างทางชีวิต
คอยลิขิตแต่งแต้มหลากสีสัน
จากผ้าขาวผืนขาดเมื่อวานวัน

กลับเปรผันเป็นผ้างามยามเติบโต


วันแม่แห่งชาติ


  วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ Mother Day ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ ทุกคนควรรำลึกถึงพระคุณของแม่

          ประวัติวันแม่แห่งชาติ มีความเป็นมาอย่างไร สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ทำไมจึงใช้ดอกมะลิ และคำขวัญวันเเม่ปีต่าง ๆ มีข้อความว่าอะไร กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่มีอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ   


ประวัติวันแม่แห่งชาติ

          ประวัติวันแม่แห่งชาติ 
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ

          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 

          
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่ 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของอาเซียน(ASEAN)

ประวัติความเป็นมาของ ASEAN

อาเซียน(ASEAN) ย่อมาจาก Association of SouthEast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรระดับภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นโดย 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยร่วมกันจัดทำปฏิญญาอาเซียน ชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ลงนามที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมี 10 ประเทศ มีเป้าหมายว่าจะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 : ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ร่วมก่อตั้งอาเซียน
7 มกราคม พ.ศ 2527 : บรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิก
28 กรกฎาคม พ.ศ 2538 : เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก
23 กรกฎาคม พ.ศ 2540 : ลาวและเมียนมาร์(พม่า) เข้าร่วมเป็นสมาชิก
9 เมษายน พ.ศ 2542 : กัมพูชา เข้าร่วมเป็นสมาชิก

รู้จักกับ อาเซียน+3 และ อาเซียน+6

อาเซียน+3 และ อาเซียน+6 : ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
โดย +3 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
และ +6 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย
กรอบปฏิบัติอาเซียน เรียกว่า กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นเอกสารมีรายละเอียดระบุโครงสร้างองค์กรและหลักปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งเรื่องการสร้างประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกมีความอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความพร้อมในทุกด้าน มีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้นำอาเซียนตกลงกันว่าจะสร้างประชาคมให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย
  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC : ASEAN Political and Security Community)
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : ASEAN Economic Community)
  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC : ASEAN Socio-Cultural Community)





ดวงตราอาเซียน เป็น สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความเป็นอาเซียน โดยมีลักษณะเป็นรูปรวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ บนพื้นหลังสีแดงอยู่ในวงกลมเส้นสีขาวและเส้นสีน้ำเงินซึ่งหมายถึง ประเทศสมาชิกรวมตัวกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน พื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดง ถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสีที่ใช้ก็ให้ความหมายในลักษณะดังกล่าว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่ง ประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ
  • การเมืองความมั่นคง
  • เศรษฐกิจ (AEC)
  • สังคมและวัฒนธรรม